นพ.กิตติพงษ์ ศรัณยานุรักษ์ แพทย์วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชบำบัดวิกฤต ดูแลรักษาผู้ป่วยหนักวิกฤตแบบองค์รวม Patient focus critical care holistic approach
น.พ.กิตติพงษ์ ศรัณยานุรักษ์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้ป่วยหนักวิกฤต
วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557
การดูแลผู้ป่วย หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ( Sudden Cardiac Arrest)
การดูแลผู้ป่วย หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ( Sudden Cardiac Arrest)
การดูแลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งมาจากสาเหตุ หลายประการ แต่โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสาเหตุหลักจากเรื่องของหัวใจเอง หรือ สาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจแต่ส่งผลให้หัวใจหยุดเต้น เช่น ภาวะเกลือแร่ผิดปกติ ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะเสียเลืดจำนวนมาก หรือ อื่นๆ เราจะเห็นว่าจุดมุ่งหมายในการดูแลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ไม่ได้หวังเพียงแค่ทำให้หัวใจฟื้นคืนมาเท่านั้น แต่เทคนิกที่ดีต้องทำให้สมองได้รับเลือดและอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงด้วยและไม่ทิ้งอาการแทรกซ้อนอื่นเช่นไตวาย ดังจะเห็นตัวอย่างจากหลายๆกรณีที่แพทย์ปั้มหัวใจขึ้นมาได้แต่สมองไม่ฟื้นหรือ หลังหัวใจหยุดเต้นกลายเป็นเจ้าชายนิจทราหรือตื่นได้แต่ไตวายต้องล้างไตตลอด จากประสบการณ์อันยาวนานในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้พอจะรวบรวมเทคนิกเอาไว้ดังนี้
1.การเริ่มขั้นตอนการ CPR อันนี้มี Guideline อยู่แล้วก็ทำตาม Guideline แต่ข้อบกพร่องที่เห็นถ้าสงสัยโรคหัวใจก็จะ CPR กันแบบไม่ยอมให้ iv fluid อันนี้ถ้ารู้เทคนิก การให้สารน้ำอาจให้ไปก่อนได้จำนวนหนึ่ง เพียงพอให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้โดยเฉพาะสมองและไต
2.หลังจากที่เริ่มมี Vital sign จะเป็นระยะที่ต้อง Survey ดูผลและอาการแทรกซ้อนจากการ CPR ระยะนี้ต้องนิ่งมากที่สุด ระบบต่างต่างของร่างกายต้องนิ่ง การทำ Brain coma และ hypothermia จึงมีบทบาทในช่วงนี้
3.ระยะนี้เป็นระยะของการ maintain hemodynamic และ maintain organ failure หลังจากนิ่งพอสมควรก็
4.ดูต้นเหตุและแก้ต้นตอ
จะเห็นว่าเราใช้เทคนิกการรักษาแบบย้อนกลับไม่ใช่คอยหาสาเหตุก่อนซี่งอาจกินเวลานาน จน organ failure แม้จะเจอสาเหตุแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ แต่ถ้าฝึก maintain hemodynamic และ maintain organ จะใช้เวลาไม่นานก็รีบดูสาเหตุเราก็จะได้คนไข้กลับมาครบ 32 ประการ
ICU model
การบริหารจัดการใน ICU ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3ลักษณะคือ 1 Close ICU 2.Open ICU 3.Semi - close ICU ทั้ง3แบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันกล่าวคือ
1. Close ICU เป็นลักษณะ ICU แบบปิด โดยมีแพทย์ประจำ ICU เป็นเจ้าของไข้คนแรกทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มกำลัง มีอำนาจตัดสินใจเฉียบขาดฉับพลันให้ทันต่อความเป็นความตายของคนไข้ และมีการปรึกษาแพทย์สาขาอื่นมาร่วมตัดสินใจโดยการตัดสินใจครั้งสุดท้ายขึ้นกับแพทย์ ICU เมื่อคนไข้หายดีแล้ว และออกจากICU อาจตามไปดูจนผู้ป่วยกลับบ้านหรือให้แพทย์สาขาอื่นรับช่วงไป การจัดการICU แบบนี้มีข้อดีคือ ได้การรักษาที่รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ อัตราการตายและ อาการแทรกซ้อนจากการdelay การรักษาลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้ป่วยกลับบ้านได้เร็ว ค่ารักษาพยาบาลถูกลง ค่าแพทย์ถูกลง เพราะไม่ได้รุมกันรักษา แต่ข้อเสียของวิธีจัดการแบบนี้คือ แพทย์ประจำICU ต้องรับงานหนัก รายได้เท่าเดิม รับความเสี่ยงจากการฟ้องร้องมากถ้าปริมาณคนไข้มาก หรือกินเวลาในการดูแลผู้ป่วยนานเกินไป และถ้ามีจำนวนแพทย์ ICU น้อย ภาระงานก็มากขึ้น วิธีแบบนี้ไม่ค่อยพบใน รพ เอกชนเพราะงานหนักไป แต่อาจจัดการได้ใน รพ รัฐบาลหรือ โรงเรียนแพทย์
2.Open ICU คือการบริหารงาน ICU แบบเปิดคือให้แพทย์ท่านอื่นเข้ามาเป็นแพทย์เจ้าของไข้ โดยแพทย์ICU รับหน้าที่ดูแลเฉพาะที่มีภาวะวิกฤตซึ่งต้องใช้ความรวดเร็วในการรักษาเท่านั้น ถ้าคนไข้อาการคงที่อาจทำหน้าที่แค่ประสานงานและดูแลไปพร้อมแพทย์เจ้าของไข้ส่วนการปรึกษาแพทย์ท่านอื่นร่วมดูแลเป็นหน้าที่ของแพทย์เจ้าของไข้วิธีนี้ แพทย์ ICU ค่อนข้างสบายภาระงานไม่หนักไม่ต้องเสี่ยงในการตัดสินใจและเสี่ยงต่อการฟ้องร้องน้อยเพราะแพทย์เจ้าของไข้ต้องรับผิดชอบ รายได้ของแพทย์ICU สามารถทำรายได้ได้มากเนื่องจากมีเวลาเหลือเฟือในการดูแลคนไข้รายอื่น แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียคือการตัดสินใจรกษาช้า ไม่ทันเวลา อาจเกิดภาวะแทรกซือนจากการdelay ซึ่งขึ้นกับประสบการณ์ของแพทย์เจ้าของไข้แต่ละท่าน เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนหนักๆ ย่อมต้องเกิดหัตถการมากขึ้น ทำรายได้ให้แพทย์ ICU และ รพ มากขึ้น วิธีนี้จึงเห็นตาม รพ เอกชน ใหญ่ๆ ซึ่งคนไข้ไม่ทราบ กลการรักษาแบบนี้ ถึงกับหมดตัวกับค่าใช้จ่ายที่มากเกินไป
3.Semi-close ICU ก็รวบรวมเอาทั้งวิธีที่ 1 และ 2 รวมกัน แล้วแต่ จะตกลงกันในแต่ละ รพ ว่า คนไข้ที่เข้ามาใน ICU จะเลือกใช้วิธีไหน ก็มีทั้งข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
ในโดยส่วนตัวแล้ว จักระบบแบบ Semi-close ICU ซึ่งก็ไม่เอาเปรียบ คนไข้และ รพ มากเกินไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)