นพ.กิตติพงษ์ ศรัณยานุรักษ์ แพทย์วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชบำบัดวิกฤต ดูแลรักษาผู้ป่วยหนักวิกฤตแบบองค์รวม Patient focus critical care holistic approach
น.พ.กิตติพงษ์ ศรัณยานุรักษ์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้ป่วยหนักวิกฤต
วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557
การดูแลผู้ป่วย หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ( Sudden Cardiac Arrest)
การดูแลผู้ป่วย หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ( Sudden Cardiac Arrest)
การดูแลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งมาจากสาเหตุ หลายประการ แต่โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสาเหตุหลักจากเรื่องของหัวใจเอง หรือ สาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจแต่ส่งผลให้หัวใจหยุดเต้น เช่น ภาวะเกลือแร่ผิดปกติ ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะเสียเลืดจำนวนมาก หรือ อื่นๆ เราจะเห็นว่าจุดมุ่งหมายในการดูแลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ไม่ได้หวังเพียงแค่ทำให้หัวใจฟื้นคืนมาเท่านั้น แต่เทคนิกที่ดีต้องทำให้สมองได้รับเลือดและอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงด้วยและไม่ทิ้งอาการแทรกซ้อนอื่นเช่นไตวาย ดังจะเห็นตัวอย่างจากหลายๆกรณีที่แพทย์ปั้มหัวใจขึ้นมาได้แต่สมองไม่ฟื้นหรือ หลังหัวใจหยุดเต้นกลายเป็นเจ้าชายนิจทราหรือตื่นได้แต่ไตวายต้องล้างไตตลอด จากประสบการณ์อันยาวนานในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้พอจะรวบรวมเทคนิกเอาไว้ดังนี้
1.การเริ่มขั้นตอนการ CPR อันนี้มี Guideline อยู่แล้วก็ทำตาม Guideline แต่ข้อบกพร่องที่เห็นถ้าสงสัยโรคหัวใจก็จะ CPR กันแบบไม่ยอมให้ iv fluid อันนี้ถ้ารู้เทคนิก การให้สารน้ำอาจให้ไปก่อนได้จำนวนหนึ่ง เพียงพอให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้โดยเฉพาะสมองและไต
2.หลังจากที่เริ่มมี Vital sign จะเป็นระยะที่ต้อง Survey ดูผลและอาการแทรกซ้อนจากการ CPR ระยะนี้ต้องนิ่งมากที่สุด ระบบต่างต่างของร่างกายต้องนิ่ง การทำ Brain coma และ hypothermia จึงมีบทบาทในช่วงนี้
3.ระยะนี้เป็นระยะของการ maintain hemodynamic และ maintain organ failure หลังจากนิ่งพอสมควรก็
4.ดูต้นเหตุและแก้ต้นตอ
จะเห็นว่าเราใช้เทคนิกการรักษาแบบย้อนกลับไม่ใช่คอยหาสาเหตุก่อนซี่งอาจกินเวลานาน จน organ failure แม้จะเจอสาเหตุแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ แต่ถ้าฝึก maintain hemodynamic และ maintain organ จะใช้เวลาไม่นานก็รีบดูสาเหตุเราก็จะได้คนไข้กลับมาครบ 32 ประการ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น